10 May 2009

การศึกษาตัวอย่าง WebQuest

สรุปรายงานการค้นคว้า ตัวอย่าง WebQuest พบข้อสังเกต ดังนี้
1. กิจกรรมตาม Taskology ทั้ง 6 เรื่อง มี Task หลากหลาย เช่น Creative Product Task Persuasion Task Journalistic Tasks Consensus Building Tasks Mystery Task และ Retelling Tasks 2. WebQuest นั้นสามารถสร้างเพื่อใช้สอนได้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งWebQuest บางเรื่องนั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้หลายกลุ่มสาระ ตามความเหมาะสม และมีWebQuest บางเรื่อง เช่นเรื่อง Apple Trees ที่เป็นการสอนแบบบูรณาการ มีหลักสูตรและมาตรฐานที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลายหลายกลุ่มสาระเข้าด้วยกันและประเมินตามมาตรฐานของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แยกกันออกไป
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่ม นอกเหนือจากแหล่งข้อมูลเว็บ มีหลากหลายเช่น เอกสารประกอบการสอน แบบจดบันทึก เกมทบทวนการเรียนรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน แบบทดสอบ
4. ชิ้นงาน ที่ผู้เรียนต้องผลิตหรือทำออกมา จะผ่านกระบวนการคิดและการเรียนรู้ในรูปแบบ Collaborative จะเน้นการทำงานกลุ่ม แต่มีบ้างที่เป็นงานส่วนบุคคล อาจเป็นเอกสาร การนำเสนอ การโต้วาที จดหมาย เรียงความ การจดบันทึกอนุทิน ฯลฯ 5. เมนูหลักที่ใช้ คล้ายคลึงกัน เมนูหลักที่ใช้ส่วนใหญ่ สำหรับนักเรียน ประกอบด้วย Introduction Task Process Evaluation Conclusion Credits และสำหรับครูประกอบ Introduction Learners Standards Process Resources Evaluation Conclusion Credits ซึ่งรูปแบบการวางอาจอยู่ด้านบน หรือด้านซ้ายมือ ส่วน ที่น่าสนใจ คือ Evaluation พบว่ามี 2 ลักษณะ คือ นักเรียนประเมินตนเอง และครูประเมินนักเรียน และรูปแบบการประเมินมีทั้ง แบบ Rubric และแบบ Rating Scale
ยกตัวอย่างรายละเอียดเรื่อง Meet the Immigrants:
1. กิจกรรม Taskology เป็น Journalistic Tasks เป็นงานที่ให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นผู้อพยพ ในอเมริกา ค้นหาข้อมูลของผู้อพยพยุคแรกๆในอเมริกา ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทาง ที่บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริง และนำเสนองาน 3 วิธี คือ จดบันทึกข้อมูลที่ได้ค้นคว้าเป็นรูปแบบการจดบันทึกการเดินทาง สวมบทบาทผู้อพยพ กลุ่มละ 4 คน เลียนแบบการแต่งกายของผู้อพยพที่ตนเองสวมบาท และรวมกันอภิปราย ความเป็นอยู่ ความคิด ความรู้สึกของผู้อพยพเมื่อมาในดินแดนใหม่ ผ่านการบันทึกรายการโทรทัศน์จำลอง เพื่อรายงานและเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ 2. กลุ่มสาระฯ ที่เหมาะนำไปประยุกต์ใช้ที่สุด คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม แต่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ก็นำไปประยุกต์ใช้ได้ ในเรื่องการการอภิปราย
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่ม คือ 1 แบบจดบันทึกวารสารการเดินทาง 2 สร้างเกมเพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ 4. ชิ้นงาน หรือ ผลงานหลัก ที่ผู้เรียนต้องผลิต หรือทำออกมา คือ 1. จดบันทึกวารสารการเดินทางรายบุคคล 2. เลียนแบบการแต่งกายของผู้อพยพที่ตนเองสวมบาท 3. ร่วมกันอภิปรายผ่านการบันทึกรายการโทรทัศน์จำลอง 5. เมนูหลักที่ใช้ วางไว้ด้านข้างซ้ายมือของเพจ มี 2 ส่วน คือ ส่วนของครู และส่วนของนักเรียน จะบอกว่าครูควรทำอย่างไร นักเรียนควรทำอย่างไร แต่ของครูจะมี Standard และ Resources เพิ่มขึ้น ทำเป็นเมนู link คนละหน้า
ยกตัวอย่างรายละเอียดเรื่อง เรื่อง Rain Forest Project
1. กิจกรรม Taskology เป็น Consensus Building Tasks ที่ จะแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือฝ่ายที่เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากป่าฝน กับ ฝ่ายที่ต่อต้าน จำลองศาลเปิดเวทีโต้แย้งกันด้วยข้อมูลที่ค้นคว้ามา เพื่อเป้าหมายที่จะได้ข้อคิดข้อตัดสินที่ดีที่สุดในการเป็นประเทศเล็กๆในป่าฝนที่คนทั่วโลกจับตาดูอยู่
2. กลุ่มสาระฯ ที่เหมาะนำไปประยุกต์ใช้ คือ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์
3. สื่อที่ครูต้องทำเพิ่ม นอกเหนือจากแหล่งข้อมูลเว็บ ไม่มี มีเพียงจัดสภาพบรรยากาศห้องเรียนเป็นศาล
4. ชิ้นงาน หรือ ผลงานหลัก ที่ผู้เรียนต้องผลิต หรือ ทำออกมา คือ 1 จดบันทึกการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูล 2. เปิดการโต้วาที 2 ฝ่ายแถลงการณ์ข้อดีข้อเสียของการดำเนินกิจกรรมในป่าฝน 3. เขียนแสดงความคิดเห็น 2 หน้ากระดาษ 3เรื่องใหม่ที่เรียนรู้จากการค้นคว้าในเรื่องป่าฝน วิธีการปกป้องป่าฝน และวิธีการที่จะบอกประเทศอื่นๆให้รู้วิธีการจัดการทรัพยากรของพวกเขา
5. เมนูหลักที่ใช้ เป็น แบบเรียงอยู่ด้านบน เนื้อหาเป็นหน้าเดียวยาวลงมาด้านล่าง มีของครูและนักเรียน เมนูของนักเรียน Introduction กล่าถึงสภาพของป่าฝนจากการวิจัยในปัจจุบัน Task คือ ให้คิดวิธีการที่จะใช้ทรัพยากรจากป่าฝนให้มีค่ามากที่สุด เพื่อต่อสู้กับฝ่ายที่คัดค้าน Resources มีคำแนะนำบอกแหล่งค้นคว้า Process แบ่งเป็น 2 ฝ่าย เพื่อต่อโต้แย้งกันในศาล หาวิธีการที่ดีที่สุดแล้วแถลงการณ์ผลการสรุกความคิดเห็น Evaluation ประเมิน 4 ด้าน 1 การจดบันทึกการค้นคว้า 2 การแถลงความคิดเห็นต่อสู้กันในศาล 3 การนำเสนอผลงาน 4 การมีส่วนร่วมในการทำงาน 5 เขียน บอก 2 หน้ากระดาษ เพื่อบอกความคิดเห็น วิธีการปกป้องป่าฝน และบอกวิธีการจัดการทรัพยากรของตนเองให้ประเทศอื่นรับทราบConclusion ในนักเรียนสรุป ส่วนเมนูของครู Introduction บอกข้อมูลที่มาของโครงการและความสำคัญในการเรียนรู้วิธีการของศาล Content Areas บอกว่าควรใช้สอนนักเรียนระดับใด Standards บอกมาตรฐานการเรียนรู้ Implementation ภาพรวมของการสอน ใช้เวลามากกว่า 1 สัปดาห์ สร้างทีมคณะลูกขุน Resources ทรัพยากรที่ต้องการคือ หนังสือเกี่ยวกับป่าฝน จำนวน 8-10 เล่ม คอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต การจัดห้องเรียนเป็นศาล มีคณะลูกขุน Entry Skills ทักษะความรู้ที่ต้องการคือทันต่อสภาพการถูกทำลายของป่าฝน และการเข้าถึงคอมพิวเตอร์ Evaluation ประเมินเฉพาะชั้นเรียนที่สอน ถ้าประสบความสำเร็จอาจขยายไปทั้งโรงเรียน Conclusion ชี่ให้เห็นความสำคัญของป่าฝน

อ้างอิงจาก
เรื่องที่ 1 Radio Days: A WebQuest จาก http://www.thematzats.com/radio/index.html เรื่องที่ 2 Rock The Vote จาก http://projects.edtech.sandi.net/lewis/rock/ เรื่องที่ 3 Meet the Immigrants: จาก
http://www.lubbockisd.org/webquests/MeetImmigrants/index.htm เรื่องที่ 4 Rain Forest Project จาก http://projects.edtech.sandi.net/ofarrell/rainforest/
เรื่องที่ 5 What A Life จาก
http://www.uni.edu/schneidj/webquests/spring04/whatalife/index.html เรื่องที่ 6 Apple Trees จาก http://www.gis.net/~tweets/webquest/

No comments: