01 June 2009

การนำเสนอผลงานรายบุคคล WEBQUEST PROJECT

1. บทเรียน Webquest เรื่อง อักษรไทยลายมือนั้นคือยศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นี้ได้สร้างขึ้นตามมาตรฐานการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย และกำหนดให้มีการเรียนรู้ที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน ใน 5 สาระการเรียนรู้ คือ การฟังการดูการพูด การอ่าน การเขียน หลักการใช้ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้ ได้กำหนดหน่วยที่ 1 ว่า อ่านเขียนแสนสนุก โดยมีสาระหลัก คือการอ่าน การเขียน และแบ่งหน่วยย่อย 4 หน่วย เลือก นำหน่วยที่ 1 อักษรไทยลายมือนั้นคือยศ มาทำเป็นบทเรียนเว็บเควส ซึ่ง จุดประสงค์การเรียนรู้นั้น คือ ให้นักเรียน บอกรูปและเสียงของ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และตัวเลขไทย พร้อมคัดลายได้ถูกต้องตามรูปแบบและท่องจำพยัญชนะไทยได้ นำจุดประสงค์การเรียนรู้ มาพิจารณาเพื่อเลือกรูปแบบ Task และกำหนดเป็นจุดประสงค์เว็บเควส โดยเน้นการใช้ทักษะการคิดแบบสืบสวนสอบสวน และนำมาตอบคำถาม หรือทำชิ้นงาน โดยได้กำหนดแหล่งเรียนรู้ ให้ค้นคว้าที่ตรงตามเนื้อหา และกำหนดชิ้นงานที่ตอบสนองจุดประสงค์ คือ
1. ออกแบบผลงานการค้นคว้าสืบหามาออกแบบชิ้นงานเพื่อประกอบการสรุปนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้รับของกลุ่ม และจดบันทึกความรู้ที่ได้รับลงในอนุทินความรู้ เป็นรายบุคคล
2. ผลงานการคัดลายมือ ตามรูปแบบ
3. การออกแบบท่าทางทำนองการท่องจำ พยัญชนะไทย ก – ฮ
2. การทำ WebQuest เริ่มแรก เมื่อได้จุดประสงค์ WebQuest แล้ว พร้อมทั้งได้ศึกษารูปแบบการเรียนรู้แบบ WebQuest จากการทำงานออนไลน์ เป็นการค้นคว้าการทำงานกลุ่มแล้ว ได้เริ่มทำ Project โดยออกแบบบทเรียนโดย เลือก Task เป็น Mystery Task ที่เป็นรูปแบบ การสืบค้นความลับ แล้วนำมาแก้ไขปริศนาต่างๆ เพื่อเร้าความสนใจในการเรียนรู้ อยากรู้อยากเห็น ต้องการค้นหาความจริง กำหนด Introduction หรือบทนำเพื่อท้าทาย และเชิญชวนในการเรียนรู้เรื่องที่ตรงกับกับจุดประสงค์ กำหนด Task หรือ ภาระงานว่าให้ทำผู้เรียนทำอะไรบ้างโดยสัมพันธ์กับจุดประสงค์เว็บเควส กำหนด Process หรือขั้นตอนกระบวนการเป็น 3 ภารกิจ ในการสืบหาความลับเพื่อนำความรู้ไปใช้ ได้ค้นหาแหล่งเรียนรู้ที่ตรงกับเนื้อหาและจัดทำเป็น Resources ที่จัดเป็นชุดๆ เพื่อช่วยให้นักเรียนสะดวกในการสืบค้น พร้อมสร้างข้อตกลงในการวัดประเมินผล ใน Evaluation ที่เป็น Rubrics แบบ Analytical scales ซึ่งเป็นการให้คะแนนโดยแยกประเด็นรายการที่ต้องการวัด เขียนคำบรรยายคุณภาพในแต่ละระดับ เพื่อผู้เรียนจะทราบว่าตนเองต้องทำอย่างไรจึงจะได้คะแนนที่ดี และ สรุปผล ใน Conclusion ว่าเมื่อเรียนรู้จบแล้ว นักเรียนจะได้อะไรบ้างจากการเรียนรูปแบบเว็บเควสนี้ โดยพิมพ์ลงในไฟล์word เพื่อให้อาจารย์ตรวจสอบและปรับแก้ไขก่อน แล้วจึงมาทำลงในTemplate โดยได้แบ่งส่วนเป็นจอ เมนูต่างๆ โดยใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการสร้างและปรับแก้ไขอย่างหลากหลายที่ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงในห้องเรียน อาทิเช่น Dreamweaver 8 ในการสร้างและปรับแก้ไขเว็บเพจ มีการค้นหาภาพที่เป็นภาพเคลื่อนไหว นำมาตกแต่งโดยเลือกภาพที่มีสัมพันธ์กันตลอดเรื่องเพื่อช่วยทำให้เว็บเพจน่าสนใจโดยเฉพาะ ไฟล์ index เมื่อจะแก้ไขให้แก้ไขที่ Notepad ใช้โปรแกรม hotpotato ช่วยสร้างกิจกรรมแบบฝึก ทำแบบทดสอบ และการเติมคำ เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ด้วยตนเอง เมื่อทำบทเรียน WebQuest เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ทดสอบ link ต่างๆ ว่ามีการเชื่อมโยงที่ถูกต้องหรือไม่ และปรับแก้ไขจนสมบูรณ์ เพื่อเตรียมนำเสนอและเผยแพร่ ผ่านเครือข่ายของ pirun server
ต้องขอบคุณ เพื่อนๆที่ช่วยเหลือกันในการทำงาน ขอบคุณ รศ. ดร.มธุรส จงชัยกิจ ที่กรุณาสอนให้พวกเราได้เรียนรู้และสร้างบทเรียน WebQuest ที่มีเนื้อหาสาระการเรียนรู้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัดถูกต้องตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ขอบคุณค่ะ

สรุปองค์ความรู้ รายวิชา 162531-2009

จากการเรียนรู้รายวิชา 162531 เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน องค์ความรู้ที่ได้รับ ดังนี้ คือ
1. ได้เรียนรู้รูปแบบการเรียน ออนไลน์ ความหมายและรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ และ WebQuest การเรียนรู้ด้วยสื่อและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ผสมผสานกันระหว่างการเรียนในห้องเรียน กับการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ จากเว็บไซด์ที่ผู้สอนคัดเลือกแล้ว ว่าตรงกับเนื้อและจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งได้มาจากการค้นคว้าโดยการทำงานกลุ่ม อภิปรายร่วมกันและสรุปออกมา
2. ได้เรียนรู้ การสร้างBlog การสนทนาและโพสต์บทความเผยแพร่ลงใน Blog ของตนเอง และแสดความคิดเห็นใน Blog ของเพื่อน การส่งงาน และติดต่อ ทางอีเมล์ รูปแบบต่างๆของ WebQuest รูปแบบของ Taskology ขั้นตอนการทำ WebQuest การวัดประเมินผล และเกณฑ์การประเมินผลแบบ Rubrics การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยสร้าง webpage และwebsite เช่น โปรแกรม PhotoImpact โปรแกรม Dreamweaver 8 โปรแกรม hotpotato และการแก้ไขใน Notepad และนำมาพัฒนางาน Website และบทเรียน WebQuest ของตนเอง ซึ่งได้มาโดยการค้นคว้าจากเว็บไซด์ วิเคราะห์ อภิปราย และสรุปออกมาโดยการทำงานกลุ่ม และการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริงในชั้นเรียน
3. ได้เรียนรู้ทักษะต่างๆจากการใช้งาน ระบบบริหารจัดการ MAXLEARN ดังนี้
- การ Login เข้าใช้งานที่ https://course.ku.ac.th/ พิมพ์รหัสประจำตัวนิสิต และใส่passrord หลังจากนั้น กด submit เพื่อเข้าสู่ รายละเอียดในรายวิชาที่ตนเองเรียน
- การส่งงานที่เป็น ไฟล์ ให้พิมพ์งานลงใน word ให้เรียบร้อย ก่อน ต้องตั้งชื่อเป็น ภาษาอังกฤษ เลือก browse ไฟล์งานที่เตรียมไว้ ควรพิมพ์ข้อความทักทายผู้สอน และบอกรายละเอียดในการส่ง และงานด้วยและควรมีขนาดไม่โตเกินกว่าที่กำหนด
- ใช้ Talkstd ในการคุยโต้ตอบกับเพื่อนเรื่องงาน และ ใช้ TalkAjarn ในการสอบถามอาจารย์ ในเรื่องการเรียน คนเขียนสามารถเข้าไปลบหรือแก้ไขของตนเองได้
- สิ่งที่ต้องระวังและแก้ไขก่อนเสมอเมื่อใช้งาน Web Board คือ กรอบสี่เหลี่ยมสีขาว ด้านบน ขวามือสุด คลิก เข้าไป และแก้ไขที่ edit your preferences เปลี่ยน 7 วัน เป็น 99 วัน เพื่อให้แสดงได้ นาน 99 วัน หากไม่แก้ไข จะแสดงเพียง 7 วัน จะขึ้นว่า no data จะทำให้องไม่เห็น
- การเปิดดูในกรอบด้านขวามือ ให้คลิกที่ตัวข้อความเพื่อเข้าไปค้นคว้า และโพสต์สรุปผล การเรียนรู้ และอภิปรายร่วมกับสมาชิก และย้อนกลับมาโพสต์สรุปองค์ความรู้ทั้งหมดของกลุ่มที่หน้าแรก
- ข้อเสนอแนะอื่นๆ ภาษาสำนวนที่ใช้ในการสื่อความมีความสำคัญมากต้องเขียนให้สื่อความตรงตามที่ต้องการ การตรวจสอบผลงานและส่งกลับมาเพื่อให้นิสิตแก้ไข เป็นระยะๆ จะทำให้ งานเกิดการแก้ไขที่ถูกต้อง ตามขั้นตอนและมีความสมบูรณ์